Custom Search

Saturday, April 25, 2009

โยเกิร์ต‘White Rabbit’ มิติใหม่บริการตัวเองสไตล์มะกัน

‘White Rabbit’ ไอศกรีมโยเกิร์ตสัญชาติไทย แจ้งเกิดจากจุดขายเป็นไอศกรีมเพื่อสุขภาพ > กินแล้วไม่อ้วน ควบคู่กับรูปแบบบริการแปลกใหม่สำหรับคนไทย โดยให้ลูกค้ากดไอศกรีมและ > เติมท็อปปิ้งด้วยตัวเอง จ่ายเงินคิดตามน้ำหนัก สร้างเอกลักษณ์ให้แบรนด์น้องใหม่รายนี้ มีจุดแกร่งพร้อม > แข่งขันในสนามธุรกิจ
ผู้อยู่เบื้องหลังร้านไอศกรีมโยเกิร์ต White Rabbit คือ ภูมิ สาเกทอง ซึ่งประสบความ > สำเร็จจากการเปิดร้านอาหารไทย ‘Thai Chili’ ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา มากว่า 5 ปี ก่อนจะมา > ขยายธุรกิจร้านไอศกรีมในบ้านเกิดเมื่อไม่นานมานี้
“ไอเดียเริ่มมาจากผมอยากจะทำธุรกิจเสริมอีกสักอย่างในประเทศไทย จึงมองหาธุรกิจ > อาหารหวาน ในที่สุดลงตัวที่ไอศกรีมโยเกิร์ต เพราะเป็นเมนูเพื่อสุขภาพ กินแล้วไม่อ้วน เชื่อว่า จะได้ > รับความนิยมและเติบโตได้ยั่งยืนกว่าเมนูอิงกระแสแฟชั่น” ภูมิ อธิบาย และเสริมต่อว่า
ส่วนตัวไม่ว่าจะทำธุรกิจใดก็ตาม ประการแรก จะศึกษาข้อมูลด้วยตัวเองในธุรกิจที่สนใจให้ > มากและลึกที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทั้งจากหนังสือและอินเตอร์เน็ต ข้อต่อมา พยายามพูดคุยและสอบถาม > จากผู้มีประสบการณ์หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้นๆ และสุดท้าย กล้าที่จะลงมือทำ
ทั้งนี้ จากที่รวบรวมข้อมูลต่างๆ จนความคิดตกผลึกในการสร้างจุดขายให้แบรนด์ White > Rabbit แบ่งเป็น ด้านตัวสินค้า เจาะจงต้องสะอาด ปลอดภัย และอร่อย โดยสูตรคิดค้นขึ้นเอง เน้น > เป็นไอศกรีมโยเกิร์ตทำสด ซึ่งมีความหอมหวานและสดชื่นกว่าไอศกรีมทั่วไปในท้องตลาดที่มักทำจากผง > แล้วนำไปแช่แข็ง
ส่วนด้านบริการ เป็นแบบ Self serve ประยุกต์รูปแบบมาจากประเทศสหรัฐ ฯโดยให้ลูกค้า > กดไอศกรีม และเติมท็อปปิ้งเอง จากนั้น นำไปชั่งน้ำหนักและจ่ายเงิน ในราคา 39 สตางค์ต่อกรัม > โดยมีให้เลือก 2 รส ได้แก่ ต้นตำรับ และบลูเบอรี่ ส่วนท็อปปิ้งมีให้เลือกเกือบ 60 ชนิด เช่น > สตรอเบอรี่ ราสเบอรี่ บลูเบอรี่ พีช แอปริคอต กีวี สับปะรด ส้มแมนดาริน ฯลฯ
“การบริการทั่วไปจะแบ่งเป็นเดินเสิร์ฟ กับบุฟเฟต์ ซึ่งเดินเสิร์ฟก็จะเหมือนกับร้านทั่วไป ส่วน > การขายอาหารคุณภาพดีแบบบุฟเฟต์ในเมืองไทยยากมาก เพราะลักษณะการกินบุฟเฟต์ของคนไทยจะเน้น
กินให้คุ้ม จนคนขายแทบขาดทุน ดังนั้น ผมเลือกจะสร้างจุดต่างให้ลูกค้าบริการตัวเองตามใจ ซึ่งวิธีนี้จะ > ช่วยสร้างความแปลกใหม่ให้ลูกค้า อีกทั้ง ชักชวนให้อยากเข้ามาทดลองชิมได้ง่ายกว่า ไม่ต้องกังวลว่า > จะแพงเกินไป เพราะอาจมาลองกินเพียงนิดหน่อยก่อนก็ได้ ต่างกับร้านไอศกรีมอื่นๆ ที่คิดเป็นขั้นบันได > เช่น 1 ลูก 40 บาท 2 ลูก 80 บาท แต่ของผม ลูกค้าเลือกปริมาณได้ตามความพอใจตัวเอง” เจ้า > ของธุรกิจ กล่าว
ทั้งนี้ ความยากของรูปแบบให้ลูกค้าบริการตัวเอง อยู่ที่บริหารต้นทุนวัตถุดิบ ให้ไอศกรีม > และท็อปปิ้ง ที่มีเกือบ 60 ชนิด เฉลี่ยแล้วต้นทุนไม่เกิน 30% ของราคาขาย เมื่อรวมกับค่าใช้จ่ายอื่นๆ > ภายในร้านไม่ว่าจะเป็นค่าพนักงาน ค่าเช่าสถานที่ ฯลฯ สามารถเหลือกำไรต่อหน่วยประมาณ 30% > นอกจากนั้น จำเป็นต้องเน้นความสำคัญต่อการบริหารสต๊อก ให้สินค้ามีปริมาณเหมาะสม และสดใหม่ > สม่ำเสมอ
และจากประสบการณ์ในการเปิดร้านอาหารที่ผ่านมา เมื่อขยายธุรกิจใหม่ พยายามเลือกเมนูที่ > ไม่ต้องพึงความสามารถของพนักงานมากเกินไป ป้องกันปัญหาพ่อครัวแม่ครัวลาออก อย่างเมนูไอศกรีม > โยเกิร์ตจะมีสูตรตายตัว หากปฏิบัติตามขั้นตอนจะได้รสชาติมาตรฐาน
ภูมิ ยอมรับว่า ปัจจุบัน ธุรกิจไอศกรีมมีคู่แข่งจำนวนมาก โดยเฉพาะไอศกรีมโยเกิร์ตมีเจ้า > ตลาดอยู่แล้วด้วย ยากที่แบรนด์น้องใหม่จะประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวไม่ได้มองว่าราย > ใหญ่เป็นคู่แข่ง ตรงกันข้าม กลับยกย่องในฐานะผู้บุกเบิกตลาด ดังนั้น จึงวางเจ้าใหญ่เป็นมาตรฐานที่ > อยากจะก้าวตามไปให้ถึง
ขณะเดียวกันพยายามพัฒนาตัวเอง เพื่อไปปิดจุดอ่อนของรายอื่นๆ เช่น ราคาขายที่ถูกกว่า > สินค้าประเภทเดียวกัน เกือบ 50% โดยเจ้าอื่นๆ ราคาขายเฉลี่ยจะอยู่ที่ 70 สตางค์ต่อกรัม อีกทั้ง > ด้วยรูปแบบการบริการที่แตกต่าง ช่วยเสริมให้ White Rabbit มีจุดเด่นเป็นของตัวเองชัดเจน
ทั้งนี้ ร้าน White Rabbit ตั้งอยู่ที่ชั้น 3 ห้างเซ็นทรัล สาขาแจ้งวัฒนะ เริ่มเปิดบริการ > ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 ที่ผ่านมา ใช้เงินลงทุนเบื้องต้นล้านกว่าบาท ส่วนหนึ่งขอสินเชื่อจาก > ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย
ร้าน ‘White Rabbit’ ที่ชั้น 3 ห้างเซ็นทรัล แจ้งวัฒนะ

ขั้นตอน 1.กดไอศกรีม 2. เติมท็อปปิ้ง และ 3. ชั่งน้ำหนักจ่ายเงิน

สไตล์มะกัน ลูกค้าบริการตัวเอง


มีท็อปปิ้งให้เลือกเติมเกือบ 60 ชนิด

ภูมิ สาเกทอง